ยินดีต้อนรับทุกท่าน
ระบบคอมพิวเตอร์
              หมายถึง กรรมวิธีที่คอมพิวเตอร์ทำการใดๆ กับข้อมูลให้อยู่ ในรูปแบบที่เป็นประโยชน์ตามความประสงค์ของผู้ใช้งานให้มากที่สุด เช่น ระบบภาษี ระบบทะเบียนราษฎร์ ระบบทะเบียนการค้า ระบบเวช ระเบียนโรงพยาบาล เป็นต้น

อาร์ดแวร์ (Hardware)
หมายถึง ตัวเครื่องและอุึปกรณ์ส่วนต่างๆที่เราสามารถสัมผัสและจับต้องได้ ฮาร์ดแวร์ประกอบด้วยส่วนที่สำคัญ 4 ส่วน ดังนี้คือ1. ส่วนประมวลผล (Processor) 2. ส่วนความจำ (Memory) 3. อุปกรณ์รับเข้าและส่งออก (Input - Output Devices) 4. อุปกรณ์หน่วยเก็บข้อมูล (Storage Device)สิ้นสุดการสนทนา




ส่วนที่ 1 CPUCPU เป็นอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ที่เปรียบเสมือนสมองมีหน้าที่หลักในการควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ ประมาลผลและเปรียบเทียบข้อมูลโดยทำการเปลี่ยนแปลงข้อมูลดิบและแปลงให้เป็นสารสนเทศที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ความสามารถของ ซีพียู นั้น พิจารณาจากความเร็วของการทำงาน การรับส่งข้อมูล อ่านและเขียนข้อมูลในหน่วยความจำ ความเร็วของซีพียูขึ้นอยู่กับตัวให้จังหวะที่เรียกว่า สัญญาณนาฬิกาเป็นความเร็วของจำนวนรอบสัญญาณใน 1 วินาทีมีหน่วยเป็น


ส่วนที่ 2 หน่วยความจำ (Memory)
จำแนกออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
1. หน่วยความจำหลัก (Main Memory)
2. หน่วยความจำสำรอง (Secondary Storage)


1. หน่วยความจำหลัก (Main Memory)เป็นหน่วยเก็บข้อมูลและคำสั่งต่างๆของเครื่องคอมพิวเตอร์ ประกอบด้วยชุด ความจำข้อมูลที่สามารถบอกตำแหน่งที่เก็บข้อมูลหรือคำสั่ง ข้อมูลจะถูกนำไปเก็บไว้และสามารถนำออกมาใช้ในการประมวลผลภายหลัง โดย CPU ทำหน้าที่ในการนำข้อมูลเข้าและนำออกจากหน่วยความจำการทำงานของคอมพิวเตอร์ ต้องใช้พื้นที่ของหน่วยความจำในการทำงานประมวลผลและเก็บข้อมูล ขนาดของความจุของหน่วยความจำ คำนวณได้จากค่าจำนวนพื้นที่ที่สามารถใช้ในการเก็บข้อมูล จำนวนพื้นที่คือจำนวนข้อมูล และจนาดของโปรแกรมที่สามารถเก็บข้อมูลได้สูงสุด พื้นที่หน่วยความจำมีมากจะทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้เร็วมากยิ่้งขึ้น
หน่วยประมวลผลกลาง (CPU)หน่วยประมวลผลกลาง หรือ CPU มี ความหมายทางด้านฮาร์ดแวร์ 2 อย่าง คือ1. ชิป (chip) ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์2. ตัวกล่องเครื่องที่มี CPU บรรจุอยู่สิ้นสุดการสนทนา

หน่วยประมวลผลกลาง (CPU)หน่วยประมวลผลกลาง หรือ CPU มี ความหมายทางด้านฮาร์ดแวร์ 2 อย่าง คือ1. ชิป (chip) ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์2. ตัวกล่องเครื่องที่มี CPU บรรจุอยู่สิ้นสุดการสนทนา



แบ่งได้ 2 ประเภทคือ หน่วยความจำแบบ "แรม" (RAM) และหน่วยความจำแบบ "รอม" (ROM)
1.1 หน่วยความจำแบบ "แรม"
(RAM = Random Access Memory)
เป็นหน่วยความจำที่ต้องอาศัยกระแสไฟฟ้าเพื่อรักษาข้อมูล ข้อมูลหรือแฟ้มข้อมูลจะถูกเก็บไว้ชั่วคราวขณะทำงาน ข้อมูลที่อยู่ในหน่วยความจำจะอยู่ได้นานจนกว่าจะปิดเครื่อง เราเรียกหน่วยความจำประเภทนี้ว่า หน่วยความจำแบบลบเลือนได้ (Volatile Memory)
1.2 หน่วยความจำแบบ "รอม" (ROM = Read Only Memory) เป็นหน่วยความจำที่ใช้เก็บโปรแกรมหรือข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ข้อมูลที่ถาวรไม่ขึ้นกับไฟฟ้าที่ป้อนให้กับวงจร ยอมให้ซีพียูอ่านข้อมูลหรือโปรแกรมไปใช้งานอย่างเดียวไม่สามารถเขียนข้อมูลลงไปเก็บไว้ได้โดยง่ายส่วนใหญ่ใช้เก็บโปรแกรมควบคุม เราเรียกหน่วยความจำประเภทนี้ว่า หน่วยความจำแบบไม่ลบเลือน (Nonvolatile Memory)


หน่วยความจำสำรอง
(Secondary Memory Unit)
หน่วยความจำสำรอง หรือหน่วยเก็บข้อมูลรอง เป็นหน่วยเก็บที่สามารถรักษาข้อมูลได้ตลอดไปหลังจากปิดเครื่องคอมพิวเตอร์แล้ว
หน่วยความจำรองมีหน้าที่หลัก คือ
1. ใช้ในการเก็บข้อมูลหรือสำรองข้อมูลเพื่อใช้ในอนาคต
2. ใช้ในการเก็บข้อมูลโปรแกรมไว้อย่างถาวร
3. ใช้เป็นสื่อในการส่งผ่านข้อมูลระหว่่างเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่ง




ส่วนแสดงผลข้อมูล
ส่วนแสดงผลข้อมูลคือส่วนที่แสดงงข้อมูลจากสัญญาณไฟฟ้าจากหน่วยประมวลผลกลางให้ดป็นรูปแบบที่คนเราสามารถเข้าใจได้อุปกรณ์ที่แสดงผลข้อมูลได้แก่ จอภาพ(Monitor) เครื่องพิมพ์ (Printer) เครื่องพิมพ์ภาพ (Ploper)และลำโพง (speaker) เป็นต้น

บุคลากรทางคอมพิวเตอร์ Peopleware
บุคลากรทางคอมพิวเตอร์ หมายถึงคนที่มีความรู้ความสามารถในการใช้หรือควบคุมให้การใช้คอมพิวเตอร์เป็นไปอย่างราบรื่น อาจประกอบด้วยคนเพียงคนเดียวหรือหลายคนช่วยกันรับผิดชอบโครงสร้างของหน่วยงานคอมพิวเตอร์


ประเภทของบุคลากรทางคอมพิวเตอร์Peopleware
1.ฝ่ายวิเคราะห์และออกแบบระบบงาน
2.ฝ่ายเกี่ยวกับโปรแกรม
3.ฝ่ายปฏิบัติงานเครื่องแบริการ


บุคลากรในหน่วยงานคอมพิวเตอร์

1.หัวหน้าหน่วยงานคอมพิวเตอร์ EDP Manager

2.หัวหน้าฝ่ายวิเคราะห์และวางแผนระบบงาน System Analyst หรือ SA

3.โปรแกรมเมอร์

4.ผู้ควบคุมเครื่องคอมพิวเตอร์Computer Opareter

-นักวิเคราะห์ระบบงาน

ทำการศึกษาระบบงานเดิม ออกแบบระบบงานใหม่

-โปรแกรมเมอร์

นำระบบงานใหม่ที่นนักวิเคราะห์ระบบออกแบบไว้มาสร้างเป็นโปรแกรม

-วิศวกรระบบ

ทำหน้าที่ออกแบบ สร้าง ซ่อมบำรุงและดูแลรักษาฮาร์ดแวร์ คอมพิวเตอร์ให้สามารถทำงานได้ตามต้องการ

-พนักงานปฏิบัติการ

ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่หรือภาระกิจ

อาจแบ่งประเภทของบุลากรคอมพิวเตอร์

1.ผู้จัดการระบบ

คือผู้วางนโยบายการใช้คอมพิวเตอร์ให้เป็นไปตามเป้าหมายของหน่วยงาน

2.นักวิเคราะห์ระบบ

คือผู้ที่ศึกษาระบบงานเดิมหรืองานใหม่และทำการวิเคราะห์ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ในการใช้คอมพิวเตอร์กับระบบงาน เพื่อให้โปรแกรมเมอร์เป็นผู้เขียนโปรแกรมให้กับระบบงาน

3.โปรแกรมเมอร์

คือผู้เขียนโปรแกรมสั่งงานเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อให้ทำงานได้ตามความต้องการของผู้ใช้ โดยเขียนตามแผนผังที่นักวิเคราะห์ระบบได้เขียนไว้

4.ผู้ใช้User

คือผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ทั่วไป ซึ่งต้องเรียนรู้วิธีการใช้เครื่องและวิธีคการใช้งานโปรแกรมเพื่อให้โปรแกรมที่มีอยู่สามารถทำงานได้ตามความต้องการ